‘แรนซัมแวร์’ ป่วนข้อมูลธุรกิจ พร้อม ‘จ่าย’ หรือ พร้อม ‘รับมือ’

การโจรกรรมข้อมูลโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่กระทำการอย่างซับซ้อนกำลังเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่จำนวนครั้งและขอบเขตการโจมตี

เพียร์ แซมซัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลรายได้ บริษัท Hackuity เล่าว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ช่วงปลายปี 2565 มีรายงานว่าเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียซึ่งกระทบต่อลูกค้าของ Optus บริษัทด้านโทรคมนาคมรวมแล้วกว่า 10 ล้านคน

สำหรับประเทศไทยเองก็พบปัญหาการละเมิดข้อมูลของโรงพยาบาลหลายแห่งรวมถึงกระทรวงสาธารณสุขในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยรั่วไหลและถูกเรียกค่าไถ่เพื่อนำฐานข้อมูลกลับมาเหมือนเดิม

วันนี้อาชญากรไซเบอร์ เช่น Desorden Group คัดเลือกเหยื่ออย่างพิถีพิถัน โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเอเชียที่มีช่องโหว่ชัดเจนซึ่งสามารถเจาะระบบได้ง่าย โดยจะลอบดึงข้อมูลจากบริษัทหรือองค์กรให้ตกเป็นเหยื่อ และข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นหากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่

หากไม่ได้รับการตอบกลับ อาชญากรกลุ่มนี้ก็จะทำให้เหยื่อได้รับความอับอายไปทั่ว ปล่อยข้อมูลให้รั่วไหล และยกระดับการกดดันให้เข้มข้นยิ่งขึ้น

“วายร้ายทุกวันนี้ไม่ได้อยากเก็บตัวแบบในอดีต หากแต่พร้อมที่จะป่าวประกาศและเปิดเผยรายละเอียดกับสื่อมวลชนว่าตนเองเจาะเข้าระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของเหยื่ออย่างไร”

เทคโนโลยีในอนาคต

เตรียมพร้อม สกัดภัยไซเบอร์

ปัจจุบัน มีเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่ผู้ตกเป็นเป้าหมายสามารถควบคุมได้โดยสมบูรณ์ นั่นก็คือ ความพร้อม (หรือการขาดความพร้อม) ของตนเอง

ช่วงที่โควิดระบาด บริษัทหลายแห่งได้ควบรวมและจัดแจงรายจ่ายทางเทคโนโลยีใหม่ ทั้งได้มีการลงทุนเพื่อปรับธุรกิจให้เป็นระบบดิจิทัล ด้านฝ่ายไอทีก็เน้นไปที่การเปิดใช้ระบบการทำงานจากทางไกล เพื่อให้พนักงานและระบบภายในองค์กรมีความปลอดภัย รองรับการทำงานยุคใหม่

แต่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการสู่ดิจิทัลและเทคโนโลยีที่ขยายขอบเขตการใช้งานออกไปโดยกว้างนี้ ทั้งระบบคลาวด์ แอปธุรกิจ และอุปกรณ์ไอโอที ล้วนสร้างโอกาสให้แฮกเกอร์โจมตีระบบได้มากขึ้น

จนทำให้ฝ่ายไอทีพบกับความยุ่งยากในการปกป้องระบบ และเกิดเป็นความต้องการใช้งานโซลูชันรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> อนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ก้าวไปพร้อมกันหรือต่างคนต่างเดิน

อนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ก้าวไปพร้อมกันหรือต่างคนต่างเดิน

เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2563 มูลค่าการซื้อขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสิ้น 3.78 ล้านล้านบาท

ประเทศไทยยังมีสัดส่วนการใช้มือถือต่อจำนวนประชากรสูงสุดในเอเชีย โดยมีสัดส่วนประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตถึงร้อยละ 67 จะพบว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นฐานสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย

ประเทศไทยมีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในระดับสูง ข้อมูลการจัดอันดับดัชนีคุณภาพชีวิตด้านดิจิทัล (Digital Quality of Life Index) ปี 2564 โดย Surfshark (2021)

คำนวณจาก 5 ปัจจัยสำคัญ คือ ความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต คุณภาพอินเทอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ ความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

พบว่า ประเทศไทยมีลำดับดัชนีคุณภาพชีวิตด้านดิจิทัลในลำดับที่ 44 ของโลกจากทั้งหมด 110 ประเทศ ซึ่งมีอันดับที่โดดเด่นในด้านคุณภาพของอินเทอร์เน็ต

โดยเฉพาะความเร็วของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และความเร็วอินเทอร์เน็ตมือถือที่เพิ่มขึ้น ที่อยู่ในอันดับที่ 2 และ 22 ของโลก ตามลำดับ

เทคโนโลยีในอนาคต

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในมิติความสามารถในการเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กลับพบว่ายังมีลำดับที่ไม่ดีนัก โดยเฉพาะการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมือถือราคาถูก (อันดับที่ 69) และการเข้าถึงบรอดแบนด์ราคาถูก (อันดับที่ 58)

สะท้อนให้เห็นว่าการให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั้งบรอดแบนด์และมือถือมีความเร็วสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ความสามารถในการเข้าถึงบริการของผู้คนบางกลุ่มอาจยังทำได้จำกัด

จึงทำให้มีเพียงกลุ่มผู้ที่มีความพร้อมทางการเงินเท่านั้น ที่จะเข้าถึงการใช้ประโยชน์และโอกาสจากเทคโนโลยีดิจิทัล

ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยอาจจะเข้าไม่ถึง ผลดังกล่าวก็จะยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น ผลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยังมีอุปสรรคในการเข้าถึง โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตมือถือที่สมาร์ตโฟนมีบทบาทในชีวิตของคนทุกกลุ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่ยุคดิจิทัลที่มีการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ อาจนำมาซึ่งความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระหว่างผู้มีศักยภาพและผู้ขาดโอกาส

ทั้งด้านการเข้าถึงความรู้แหล่ง เงินทุน หรือสวัสดิการทางสังคม ซึ่งจะยิ่งส่งผลทำให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชากรสูงมากยิ่งขึ้น แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> มข.เปิดตัวแบตเตอรี่ ‘โซเดียมไอออน’ จากแร่เกลือหิน ครั้งแรกในอาเซียน

มข.เปิดตัวแบตเตอรี่ ‘โซเดียมไอออน’ จากแร่เกลือหิน ครั้งแรกในอาเซียน

มข.เปิดตัวแบตเตอรี่ ‘โซเดียมไอออน’ จากแร่เกลือหิน ครั้งแรกในอาเซียน

เทคโนโลยี

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย ดร.ธีรวุธ ตันนุกิจ ผู้แทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมเปิดตัวแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแร่เกลือหิน ในประเทศไทย ภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ

ซึ่ง มข. ร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ทำการวิจัยและทำการผลิตจนนำมาสู่การใช้งานได้จริง โดยมีนักวิชาการ ผู้ที่สนใจในกลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน ร่วมเป็นสักขีพยาน ตลอดจนสื่อมวลชนทุกแขนงร่วมชมผลงานวิจัยอย่างคับคั่ง

รศ.นพ.ชาญชัย เผยว่า การพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินซึ่งเป็นแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนต้นแบบซึ่งผลิตได้เป็นที่แรกในประเทศไทย และที่แรกในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยทำการที่โรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทั้งนี้ โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ถือเป็นกลไกลสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบ ให้สามารถผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูง รองรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่แห่งอนาคต

โดยมีสถานประกอบการในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ แห่งอนาคต แบบครบวงจร เข้าร่วมงานด้วยไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ประกอบด้วยโครงการเหมืองแร่โพแทช บริษัท ไทยคาลิ จำกัด และบริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

รวมทั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าบริษัท วี.ซี.เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายจักรยานยนต์ไฟฟ้า บริษัท เอ็นเซิร์ฟ โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท อินโนวาแพค จำกัด บริษัท ทีแอนด์ที ไมโครโมบิล จำกัด เข้าร่วมชมผลงานด้วย