แจ็ค หม่า สละสิทธิ์ในการควบคุม Ant Group บริษัทฟินเทคใหญ่ หลังถูกรัฐจีนเบรก IPO ในปี 2020

แจ็ค หม่า สละสิทธิ์ในการควบคุม Ant Group บริษัทฟินเทคใหญ่ หลังถูกรัฐจีนเบรก IPO ในปี 2020

แจ็ค หม่า สละสิทธิ์ในการควบคุมบริษัท Ant Group บริษัทฟินเทคที่เขาก่อตั้ง เนื่องจากผู้ถือหุ้นของบริษัทจะดำเนินการปรับเปลี่ยนหลายอย่าง มีผลให้ แจ็ค หม่า ต้องสละสิทธิ์ในการออกเสียงเกือบทั้งหมด

แจ็ค หม่า

หากใครยังพอจำกันได้ Ant Group เป็นข่าวใหญ่ในปี 2020 เพราะถูกรัฐบาลจีนเบรกไม่ให้บริษัทขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ มูลค่า 37,000 ล้านดอลลาร์ คาดว่าสาเหตุมาจากการที่ หม่า วิจารณ์รัฐบาลว่ามีนโยบายเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจฟินเทค

หลังจากนั้น รัฐบาลจีนก็เริ่มกระชับอำนาจ เรียก แจ็ค หม่า เข้าพบ ลามมาถึงการควบคุมธุรกิจเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซ การศึกษาออนไลน์ และ เกม หลังจากนั้น หม่าก็หายหน้าไปจากสังคม จนกระทั่งเร็วๆ นี้มีรายงานว่าเขาหนีไปอยู่ที่ญี่ปุ่น และล่าสุดก็มาเที่ยวประเทศไทย แวะร้านเจ๊ไฝ และพบปะกับบัวขาวด้วย

ทาง Ant Group กล่าวว่า หม่า และผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีก 9 ราย มีสิทธิ์ออกเสียงโดยอิสระ ลดการควบคุมการลงคะแนนเสียง ซึ่งก่อนหน้านี้ หม่ามีสิทธิออกเสียงมากกว่า 50% แต่การเปลี่ยนแปลงล่าสุด จะทำให้สิทธิโหวตของเขาเหลือ 6.2% ตามการคำนวณของ Reuters

Ant ยังกล่าวอีกว่า จะเพิ่มกรรมการอิสระคนที่ห้า เพื่อให้กรรมการอิสระมีที่นั่งในบอร์ดกรรมการมากขึ้น (ตอนนี้มรบอร์ดมี 8 คน)

“ด้วยเหตุนี้ จะไม่มีสถานการณ์ที่ผู้ถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมจะมีอำนาจควบคุม Ant Group แต่เพียงผู้เดียวหรือร่วมกันอีกต่อไป” Ant Group กล่าว

สำหรับสถานการณ์ Ant Group ดูเหมือนจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น รัฐบาลผ่อนคลายกฎ โดย Ant Group เพิ่งได้รับการอนุมัติให้ระดมทุนเพิ่มได้ 10.5 พันล้านหยวน (1.5 พันล้านดอลลาร์)

อ่านข่าวธุรกิจที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : เคอร์รี่ โลจิสติคส์ฯรุกธุรกิจขนส่ง B2B ตั้งบ.ใหม่ให้บริการหนุนรายได้โต 20%

เคอร์รี่ โลจิสติคส์ฯรุกธุรกิจขนส่ง B2B ตั้งบ.ใหม่ให้บริการหนุนรายได้โต 20%

เคอร์รี่ โลจิสติคส์ฯรุกธุรกิจขนส่ง B2B ตั้งบ.ใหม่ให้บริการหนุนรายได้โต 20%

นายพงศ์ศิริ ศิริธร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัดบริษัทในกลุ่ม Kerry Logistics Network Limited (KLN) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง เปิดเผยว่า ในต้นปี 66 บริษัทมีแผนที่จะรุกธุรกิจให้บริการขนส่งกลุ่มลูกค้า ธุรกิจ ส่งถึง ธุรกิจ หรือ B2B อย่างเต็มรูปแบบ โดยจะจัดตั้งบริษัท บริษัท เคอรี่ ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (KDT) สำหรับบริษัท KDT จะรองรับการขยายตัวของการให้บริการขนส่งแบบ B2B ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทั่วประเทศ ซึ่งจากเดิมที่บริษัทให้บริการขนส่งได้ในวงจำกัด เฉพาะลูกค้าคลังสินค้าของเคอรี่ฯ เท่านั้น แต่จากนี้ไปจะให้บริการเปิดกว้างให้บริการลูกค้าคลังสินค้ารายอื่นๆ ด้วย บริษัทมีเป้าหมายขยายขอบเขตการให้บริการไปยังกลุ่มคลังสินค้ารายอื่น ๆ และกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่หันมานิยมใช้บริการขนส่งจากภายนอกมากกว่าที่จะบริหารจัดการเอง

บริษัทได้ตั้งเป้าหมายให้ KDT เติบโต 20% จากฐานเดิมของการให้บริการขนส่งในนาม บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ และคาดว่าภายใน 3 ปี สัดส่วนรายได้ของ เคอรี่ โลจิสติคส์ มาจากธุรกิจให้บริการขนส่ง 60% และ ธุรกิจคลังสินค้าจะลดสัดส่วนรายได้เหลือ 40% จากปัจจุบันรายได้หลักของบริษัทกว่า 80% จะมาจากคลังสินค้า ธุรกิจให้บริการขนส่งต่ำกว่า 20%