อนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ก้าวไปพร้อมกันหรือต่างคนต่างเดิน

เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2563 มูลค่าการซื้อขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสิ้น 3.78 ล้านล้านบาท

ประเทศไทยยังมีสัดส่วนการใช้มือถือต่อจำนวนประชากรสูงสุดในเอเชีย โดยมีสัดส่วนประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตถึงร้อยละ 67 จะพบว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นฐานสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย

ประเทศไทยมีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในระดับสูง ข้อมูลการจัดอันดับดัชนีคุณภาพชีวิตด้านดิจิทัล (Digital Quality of Life Index) ปี 2564 โดย Surfshark (2021)

คำนวณจาก 5 ปัจจัยสำคัญ คือ ความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต คุณภาพอินเทอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ ความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

พบว่า ประเทศไทยมีลำดับดัชนีคุณภาพชีวิตด้านดิจิทัลในลำดับที่ 44 ของโลกจากทั้งหมด 110 ประเทศ ซึ่งมีอันดับที่โดดเด่นในด้านคุณภาพของอินเทอร์เน็ต

โดยเฉพาะความเร็วของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และความเร็วอินเทอร์เน็ตมือถือที่เพิ่มขึ้น ที่อยู่ในอันดับที่ 2 และ 22 ของโลก ตามลำดับ

เทคโนโลยีในอนาคต

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในมิติความสามารถในการเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กลับพบว่ายังมีลำดับที่ไม่ดีนัก โดยเฉพาะการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมือถือราคาถูก (อันดับที่ 69) และการเข้าถึงบรอดแบนด์ราคาถูก (อันดับที่ 58)

สะท้อนให้เห็นว่าการให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั้งบรอดแบนด์และมือถือมีความเร็วสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ความสามารถในการเข้าถึงบริการของผู้คนบางกลุ่มอาจยังทำได้จำกัด

จึงทำให้มีเพียงกลุ่มผู้ที่มีความพร้อมทางการเงินเท่านั้น ที่จะเข้าถึงการใช้ประโยชน์และโอกาสจากเทคโนโลยีดิจิทัล

ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยอาจจะเข้าไม่ถึง ผลดังกล่าวก็จะยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น ผลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยังมีอุปสรรคในการเข้าถึง โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตมือถือที่สมาร์ตโฟนมีบทบาทในชีวิตของคนทุกกลุ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่ยุคดิจิทัลที่มีการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ อาจนำมาซึ่งความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระหว่างผู้มีศักยภาพและผู้ขาดโอกาส

ทั้งด้านการเข้าถึงความรู้แหล่ง เงินทุน หรือสวัสดิการทางสังคม ซึ่งจะยิ่งส่งผลทำให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชากรสูงมากยิ่งขึ้น แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> มข.เปิดตัวแบตเตอรี่ ‘โซเดียมไอออน’ จากแร่เกลือหิน ครั้งแรกในอาเซียน