วิธี เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เสี่ยง “สมาธิสั้น”
เด็กเล็กหลายคนเสี่ยงโรคสมาธิสั้นจากการดูแลที่ไม่ถูกต้องของพ่อแม่
โดยเฉพาะการเลี้ยงดูลูกด้วยการอาศัยตัวช่วยอย่างเทคโนโลยีในโลกดิจิตอล สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
สาเหตุของอาการสมาธิสั้นในเด็ก
อ. พญ.ศศิธร ปรีชาวุฒิเดช แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า เทคโนโลยีในการสื่อสารและบันเทิงในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของแสง สี เสียง ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นประสาทสัมผัสอยู่ตลอดเวลา เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้เด็กไม่สามารถรอคอย หรือควบคุมตนเองให้มีสมาธิยาวนานได้
พญ. นิดา ลิ้มสุวรรณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สาเหตุของอาการสมาธิสั้นในเด็ก เกิดจากสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมเรื่องการสมาธิจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติ เพราะสารสื่อประสาทหลั่งออกมาน้อยกว่าคนปกติ ถ้าเปรียบสมองเป็นรถ สารสื่อประสาทก็เหมือนกับน้ำมัน ถ้าไม่มีน้ำมัน รถก็วิ่งไม่ได้
อาการของเด็กสมาธิสั้น
พญ. นิดา ระบุอาการของเด็กสมาธิสั้นที่สังเกตได้เอาไว้ ดังนี้
อยู่ไม่นิ่ง ซน
ยุกยิก
กระสับกระส่าย
มืออยู่ไม่สุข
อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องขยับตลอด
นั่งไม่ติดที่ ชอบเดินไปมา
ชอบวิ่ง ไม่เดิน
ชอบปีนป่าย เล่นผาดโผน
เล่นแรง เล่นได้ไม่เหนื่อย
พูดเก่ง พูดเร็ว
พูดไม่หยุด พูดไปเรื่อยๆ
หุนหันพลันแล่น
รอคอยไม่ได้
คิดอะไรจะทำทันที เหมือนรถไม่มีเบรค
พูดสวน
พูดทะลุกลางปล้อง
ตอบก่อนผู้ถามจะถามจบ
ถ้าต้องทำอะไรที่ช้าๆ หรือนานๆ จะไม่อยากทำหรือไม่อดทนพอที่จะทำสิ่งนั้น
ไม่มีสมาธิ
ทำงานตกหล่น สะเพร่า
เหม่อลอย
ขี้ลืม
ทำของหายบ่อยๆ
ทำอะไรนานๆ ไม่ได้
เปลี่ยนกิจกรรมบ่อยๆ
ทำงานไม่เสร็จ
วอกแวกง่าย อะไรผ่านก็หันไปมอง
เหมือนไม่ได้ฟัง เวลามีคนพูดด้วย